วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

タスク2

ในงานชิ้นที่สองของวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์นี้ อาจารย์ให้การ์ตูนสี่ช่องมาเรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่องว่า それは秘密です。ในภาพทั้งสี่ช่องมีคำอธิบายหรือบทพูดประกอบ ก่อนหน้าที่จะทำงานชิ้นนี้ ก็เคยได้ทำงานคล้ายๆกันนี้ในวิชา Japanese Conversation IV มาก่อน ต่างกันตรงที่ว่า วิชา Japanese Conversation IV ให้เราอธิบายภาพ เน้นให้เราบรรยายภาพ ให้ผู้ฟังที่มองไม่เห็นภาพนึกภาพตามได้ แต่ในวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์นี้ อาจารย์ให้สมมติว่าการ์ตูนเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง แล้วให้เราเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนสนิทของเราฟัง โดยเน้นว่า เล่าอย่างไรให้ได้อรรถรส ให้เพื่อนรู้สึกสนุกไปกับเราด้วย โดยให้อัดเสียงเล่าของตัวเองไว้หลังจากที่มีเวลาเตรียมตัวประมาณห้านาที

ผลที่เราทำออกมานั้น ยอมรับว่ายังไม่ได้เรื่องเลย 555+ เพราะว่า ตะกุกตะกัก พูดไม่เป็นประโยค เว้นระยะนาน ส่วนใหญ่จะยกคำอธิบายในภาพมาเล่าแบบ copy > pasteทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ แถมยังใช้ รูปธรรมดา กับรูป です、ます ปนกันมั่วไปหมด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ คิดว่าเป็นเพราะตื่นเต้น ลนลานเพราะอายเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างๆ อาทิตย์ถัดมา อาจารย์ให้เราแก้ไข ตัดออก หรือเพิ่มเติมส่วนที่อยากจะพูดแต่ไม่ได้พูดลงไป พอเติมก็คิดว่างานของตัวเองดีขี้นแล้ว แต่พออาจารย์เปิดเทปตัวอย่างเสียงของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นสองท่านให้ฟัง ก็เข้าใจในทันทีว่าเรื่องเล่าของเรายังขาดอะไรอะไรอีกมากมายนัก (ไม่นับเรื่องไวยากรณ์ผิดๆ กับเรื่องที่เล่าตะกุกตะกักไม่ปะติดปะต่อนะ) เรามาดูกันซิว่าสิ่งที่ขาดไปมีอะไรบ้าง

1. ขาด メタ言語 หรือที่อาจารย์สอนว่า ภาษาเหนือภาษา เป็นวลีหรือประโยคเกริ่นนำที่ช่วยดำเนินการสนทนาหรือการเล่าเรื่องใดๆให้เป็นไปอย่างราบรื่น น่าติดตาม และช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น
-ねえ、ねえ、知ってる。(นี่ๆ รู้รึเปล่า) (ผู้หญิงใช้)
-ねえ、ねえ、聞いて聞いて。(นี่ๆ ฟังๆ) (ผู้หญิงใช้)
-あのさ、(นี่ๆ (มีเรื่องจะเล่าให้ฟังแน่ะ)) (ผู้ชายใช้)
-大変事あったの。(เกิดเรื่องใหญ่ขึ้นล่ะ)
-大変なことが起こったんだって。(แต่แล้วก็เกิดเรื่องใหญ่ขึ้น)
-そこで、何と言ったと思う?(ณ จุดๆนี้ คิดว่า(เขา)จะว่ายังไงล่ะ)
-すごい面白いでしょう。(ตลกสุดๆเลยเนอะ) เหล่านี้เป็นต้น
ซึ่งหากขาดไป คนฟังจะไม่มีอารมณ์ร่วม การเล่าเรื่องจะดูทื่อๆไม่น่าติดตาม ไม่น่าตื่นเต้นเอาเสียเลย

2. ขาดคำลงท้ายประโยคที่ดี ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ เพื่อนในห้องบางคนมีปัญหาเดียวกับเรานั่นก็คือ จะลงท้ายประโยคด้วย よ ตลอด ซึ่งในตัวอย่างจากเสียงอาจารย์นั้น จะเห็นว่าอาจารย์ทั้งสองท่านลงท้ายประโยคหลายแบบ ไม่ซ้ำซาก ของอาจารย์ผู้หญิงก็มี ~のね、~のよ、~なの、~だって เป็นต้น ส่วนของอาจารย์ผู้ชายก็มี ~よね、~でさ、~だ、だよ、และบางครั้งก็จบด้วยคำนามเสียเฉยๆ

3. ขาดทักษะการเล่าเรื่องให้น่าตื่นเต้น ที่เราเล่าไปนั้นเหมือนเป็นการอธิบายภาพนิ่ง แต่อาจารย์ทั้งสองท่านนั้นเล่าเหมือนกับกำลังอธิบายภาพเคลื่อนไหวอยู่ กล่าวคือ ผู้ฟังมองเห็นภาพเคลื่อนไหวตามอาจารย์ทั้งสองไปด้วย โดยเฉพาะจุด climax ของเรื่องที่ผู้ชายกำลังยกมือขึ้นไปถอดวิกผมตัวเอง

4. ขาดความสมบูรณ์ของเรื่อง ของเราแค่อธิบายภาพช่องที่สี่จบแล้วก็จบกัน ฟังแล้วรู้สึกค้างๆคาๆ ทิ้งคำถามไว้ให้ผู้ฟังเสียอย่างนั้น แต่ของอาจารย์ทั้งสองท่านจะมีการเสริมเรื่องราวที่ไม่มีให้ในการ์ตูน ท่านหนึ่งจะคิดเรื่องราวต่อขึ้นมาเองว่าเป็นอย่างไรต่อ ส่วนอีกท่านหนึ่งก็จบด้วยการเน้นย้ำจุดน่าสนใจของเรื่อง

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เห็นได้ชัดว่าเรายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของงานชิ้นนี้ สำหรับตัวเราแล้วคิดว่าทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นของตัวเองยังอ่อนอยู่มาก ซึ่งก็ต้องฝึกฝนกันต่อไป
พยายามต่อไปนะทะเคะชิ ^o^

ก่อนจบอยากจะพูดถึงความรู้ภาษาญี่ปุ่นที่ได้เพิ่มจาก タスク2 นะคะ
- สำนวน A にもったいないぐらいの B แปลว่า B ดีเกินไปสำหรับ A, B ไม่คู่ควร A
  ถ้าไปเจอสำนวนนี้เอาข้างนอกด้วยตัวเอง จะเข้าใจว่า Aเป็นฝ่ายที่ต้องเสียดาย B ไม่คู่ควรกับ A
  แปลผิดได้สุดโต่งดีจริงๆ ดีนะที่มาเจอสำนวนนี้ในวิชานี้เสียก่อน ^_^"
- สำนวน もう..大ピンチ。แปลว่า วิกฤตแล้ว - _ -"
- สำนวน ~ことがばれちゃったんだ。แปลว่า ความแตกแล้ว O~O"
- สำนวน どっちもどっちだよね。แปลว่า พอกันนะคู่นี้
- คำศัพท์ おもむろに แปลว่า ค่อยๆ (เอื้อมมือ)
- คำศัพท์ ブスな แปลว่า ขี้เหร่
- ได้รู้ว่ารูปประโยคบางรูปที่ถ้าเราใช้เองจะคิดว่ามันแปลก จริงๆแล้วใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ประโยคจากตัวอย่างของอาจารย์ผู้หญิง ที่ว่า それで、次、彼、何したと思う?เป็นต้น ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะคิดว่าประโยคนี้ฟังแล้วรู้สึกไม่ต่อเนื่อง แต่อาจารย์ก็ยังใช้ ทำให้คิดได้ว่า ความสำคัญของการสื่อสารโดยเฉพาะการพูดนั้น คือการที่ผู้ฟังเข้าใจเราได้ถูกต้อง เมื่อถึงเวลาที่เราต้องพูด ก็ไม่ควรไปเสียเวลากับการเรียงร้อยประโยคนานเกินไป ฝึกฝนไปเรื่อยๆ แล้วการเรียบเรียงคำพูดของเราก็จะดีขึ้นเรื่อยๆเอง หวังว่าเราจะเป็นอย่างนั้นนะ แต่ก็อีกนั่นแหละ เราไม่ค่อยกล้าพูด กล้าคุยภาษาญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ ขาดความมั่นใจในตัวเอง เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงตัวเองอย่างเร่งด่วน!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น