วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

タスク1

ได้ลองสมมติตัวเองเป็นคนที่ชอบเล่น フラメンコギター แล้วส่งเมล์ไปขอเรียนคอร์สตัวต่อตัวกับปรมาจารย์ชั้นครูผู้มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่น เขียนเมล์ทั้งหมดสามครั้ง ครั้งแรกยังเขียนได้ไม่ดี หลังจากได้อ่านตัวอย่างเมล์ที่ดีของเพื่อนๆ และจากในชีท ก็พบว่าจดหมายที่เราเขียนมีข้อบกพร่องหลักๆ 2 ข้อด้วยกันคือ
1. ขาดรายละเอียดสำคัญๆ เช่น ไม่บอกระดับความสามารถของตัวเองให้อาจารย์ทราบ ไม่บอกวันเวลาที่สะดวกจะเรียน
2. ภาษาที่ใช้ไม่สุภาพ มีคำศัพท์ที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น 費用について問い合わせておきたいと思います。
ควรหลีกเลี่ยงคำว่า費用 ควรใช้ประโยคว่า一ヶ月どのぐらいかかりますか。มากกว่า ส่วนการบอกปิดท้ายว่า お返事をお待ちしております。ก็ไม่ควรเขียน เพราะเหมือนเร่งให้อีกฝ่ายตอบกลับซึ่งเสียมารยาท เป็นต้น

เมื่อทราบดังนี้ จึงปรับปรุงแก้ไขไปในการเขียนครั้งที่สอง ในครั้งที่สองนี้มีข้อบกพร่องน้อยลง แต่ก็ยังมีจุดที่ใช้ไวยากรณ์ผิดๆอยู่ และเขียนเหมือนกับตัวอย่างในชีทมากเกินไป

ครั้งที่สามก็ได้แก้ไขจุดที่ผิดไวยากรณ์ตามที่อาจารย์แนะนำ เนื้อความที่เหลือยังคงเดิม

ถ้าเทียบครั้งที่สามกับครั้งที่หนึ่งแล้ว ครั้งที่สามดีกว่ามาก เนื่องจากมีสำนวนภาษาที่สุภาพและมีเนื้อหาสมบูรณ์กว่า

จากงานชิ้นแรกที่ได้ทำนี้ทำให้รู้ว่าภาษาญี่ปุ่นของตนเองยังมีจุดบกพร่องอยู่มาก ยังไม่แม่นไวยากรณ์ ได้ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ บางเรื่องที่ชาวไทยคิดว่าจะเป็นการเสียมารยาท แต่สำหรับชาวญี่ปุ่น หรือชาวต่างชาติอาจจะไม่คิดอย่างเดียวกันก็ได้ เห็นได้จากการเขียนเมล์ครั้งแรกที่ไม่มีข้อมูลว่าตนเองมีความสามารถระดับไหนแล้ว และ ไม่ระบุวันเวลาที่จะสะดวกเรียน ที่ไม่ได้เขียนไปเนื่องจากคิดว่าจะเป็นการเสียมารยาทที่จะระบุวันเวลาไป แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว ไม่เป็นการเสียมารยาท ตรงกันข้าม การระบุรายละเอียดต่างๆไปให้ชัดเจนในคราวเดียวเป็นการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา ย่นระยะเวลาในการติดต่อ ไม่ต้องส่งเมล์กลับไปกลับมาหลายรอบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้สำนวนใหม่ๆที่ควรจำไปใช้เช่น お手数ですが、และ お返事は急ぎませんが、どうぞよろしくお願いいたします。อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น