วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Oh! NOH

วันก่อนพิมพ์ๆอยู่หลับไปตอนไหนไม่รู้ วันนี้เลยจะมาพิมพ์ต่อนะคะ

วันนี้ได้ดูละครโนฉบับย่อในชั่วโมงเรียนวิชาประวัติศาสตร์วรรณคดีญี่ปุ่น 2 อาจารย์ประจำวิชาคืออาจารย์เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ แต่อาจารย์ที่มาเปิดละครโนให้ดูเป็นอาจารย์รับเชิญ นั่นก็คืออาจารย์อัษฎายุธ ชูศรี VCDละครโนที่อาจารย์เปิดให้ดู พิเศษตรงที่ว่าตัวละครเอกในเรื่อง แสดงโดยอาจารย์อัษฎายุธเอง น่าทึ่งมากทีเดียว แล้วก็แอบอิจฉาอาจารย์ที่ได้ไปฝึกเล่นละครโน แถมยังแสดงได้ดูเป็นธรรมชาติด้วย ถ้าไม่ได้เป็นอาจารย์ลูกศิษย์กัน คงจะเข้าใจว่าละครโนที่ได้ดู แสดงโดยคนญี่ปุ่นทั้งหมดเป็นแน่ นอกจากจะได้ดูภาพแล้ว ยังได้ฟังเสียงร้องบทละครโนของอาจารย์แบบสดๆอีกด้วย น่าทึ่งอีกแล้ว ถึงแม้จะฟังไม่รู้เรื่อง ชีทบทละครที่อาจารย์แจกก็อ่านไม่ออก ฟังครั้งแรก หลายคนอาจหลุดขำ ฟังดูตลก แต่ว่าพอฟังๆไปก็ขนลุกดีเหมือนกัน ที่ขนลุกเพราะอาจารย์ร้องได้เหมือนจริงเลย ถึงจะไม่เคยฟังของจริงว่าเป็นยังไงก็เถอะ แต่ก็คิดในใจว่า "อาจารย์ทำได้ยังไงเนี่ย"
เห็นอย่างนี้แล้วก็น่าอิจฉาอาจารย์ และนักเรียนแลกเปลี่ยนคนอื่นๆที่มีโอกาสได้เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้งและเข้าถึงขนาดนี้เหมือนกันนะ...

^_^

タスク2

ในงานชิ้นที่สองของวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์นี้ อาจารย์ให้การ์ตูนสี่ช่องมาเรื่องหนึ่ง ชื่อเรื่องว่า それは秘密です。ในภาพทั้งสี่ช่องมีคำอธิบายหรือบทพูดประกอบ ก่อนหน้าที่จะทำงานชิ้นนี้ ก็เคยได้ทำงานคล้ายๆกันนี้ในวิชา Japanese Conversation IV มาก่อน ต่างกันตรงที่ว่า วิชา Japanese Conversation IV ให้เราอธิบายภาพ เน้นให้เราบรรยายภาพ ให้ผู้ฟังที่มองไม่เห็นภาพนึกภาพตามได้ แต่ในวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์นี้ อาจารย์ให้สมมติว่าการ์ตูนเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง แล้วให้เราเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนสนิทของเราฟัง โดยเน้นว่า เล่าอย่างไรให้ได้อรรถรส ให้เพื่อนรู้สึกสนุกไปกับเราด้วย โดยให้อัดเสียงเล่าของตัวเองไว้หลังจากที่มีเวลาเตรียมตัวประมาณห้านาที

ผลที่เราทำออกมานั้น ยอมรับว่ายังไม่ได้เรื่องเลย 555+ เพราะว่า ตะกุกตะกัก พูดไม่เป็นประโยค เว้นระยะนาน ส่วนใหญ่จะยกคำอธิบายในภาพมาเล่าแบบ copy > pasteทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ แถมยังใช้ รูปธรรมดา กับรูป です、ます ปนกันมั่วไปหมด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ คิดว่าเป็นเพราะตื่นเต้น ลนลานเพราะอายเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างๆ อาทิตย์ถัดมา อาจารย์ให้เราแก้ไข ตัดออก หรือเพิ่มเติมส่วนที่อยากจะพูดแต่ไม่ได้พูดลงไป พอเติมก็คิดว่างานของตัวเองดีขี้นแล้ว แต่พออาจารย์เปิดเทปตัวอย่างเสียงของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นสองท่านให้ฟัง ก็เข้าใจในทันทีว่าเรื่องเล่าของเรายังขาดอะไรอะไรอีกมากมายนัก (ไม่นับเรื่องไวยากรณ์ผิดๆ กับเรื่องที่เล่าตะกุกตะกักไม่ปะติดปะต่อนะ) เรามาดูกันซิว่าสิ่งที่ขาดไปมีอะไรบ้าง

1. ขาด メタ言語 หรือที่อาจารย์สอนว่า ภาษาเหนือภาษา เป็นวลีหรือประโยคเกริ่นนำที่ช่วยดำเนินการสนทนาหรือการเล่าเรื่องใดๆให้เป็นไปอย่างราบรื่น น่าติดตาม และช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น
-ねえ、ねえ、知ってる。(นี่ๆ รู้รึเปล่า) (ผู้หญิงใช้)
-ねえ、ねえ、聞いて聞いて。(นี่ๆ ฟังๆ) (ผู้หญิงใช้)
-あのさ、(นี่ๆ (มีเรื่องจะเล่าให้ฟังแน่ะ)) (ผู้ชายใช้)
-大変事あったの。(เกิดเรื่องใหญ่ขึ้นล่ะ)
-大変なことが起こったんだって。(แต่แล้วก็เกิดเรื่องใหญ่ขึ้น)
-そこで、何と言ったと思う?(ณ จุดๆนี้ คิดว่า(เขา)จะว่ายังไงล่ะ)
-すごい面白いでしょう。(ตลกสุดๆเลยเนอะ) เหล่านี้เป็นต้น
ซึ่งหากขาดไป คนฟังจะไม่มีอารมณ์ร่วม การเล่าเรื่องจะดูทื่อๆไม่น่าติดตาม ไม่น่าตื่นเต้นเอาเสียเลย

2. ขาดคำลงท้ายประโยคที่ดี ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ เพื่อนในห้องบางคนมีปัญหาเดียวกับเรานั่นก็คือ จะลงท้ายประโยคด้วย よ ตลอด ซึ่งในตัวอย่างจากเสียงอาจารย์นั้น จะเห็นว่าอาจารย์ทั้งสองท่านลงท้ายประโยคหลายแบบ ไม่ซ้ำซาก ของอาจารย์ผู้หญิงก็มี ~のね、~のよ、~なの、~だって เป็นต้น ส่วนของอาจารย์ผู้ชายก็มี ~よね、~でさ、~だ、だよ、และบางครั้งก็จบด้วยคำนามเสียเฉยๆ

3. ขาดทักษะการเล่าเรื่องให้น่าตื่นเต้น ที่เราเล่าไปนั้นเหมือนเป็นการอธิบายภาพนิ่ง แต่อาจารย์ทั้งสองท่านนั้นเล่าเหมือนกับกำลังอธิบายภาพเคลื่อนไหวอยู่ กล่าวคือ ผู้ฟังมองเห็นภาพเคลื่อนไหวตามอาจารย์ทั้งสองไปด้วย โดยเฉพาะจุด climax ของเรื่องที่ผู้ชายกำลังยกมือขึ้นไปถอดวิกผมตัวเอง

4. ขาดความสมบูรณ์ของเรื่อง ของเราแค่อธิบายภาพช่องที่สี่จบแล้วก็จบกัน ฟังแล้วรู้สึกค้างๆคาๆ ทิ้งคำถามไว้ให้ผู้ฟังเสียอย่างนั้น แต่ของอาจารย์ทั้งสองท่านจะมีการเสริมเรื่องราวที่ไม่มีให้ในการ์ตูน ท่านหนึ่งจะคิดเรื่องราวต่อขึ้นมาเองว่าเป็นอย่างไรต่อ ส่วนอีกท่านหนึ่งก็จบด้วยการเน้นย้ำจุดน่าสนใจของเรื่อง

จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เห็นได้ชัดว่าเรายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของงานชิ้นนี้ สำหรับตัวเราแล้วคิดว่าทักษะการพูดภาษาญี่ปุ่นของตัวเองยังอ่อนอยู่มาก ซึ่งก็ต้องฝึกฝนกันต่อไป
พยายามต่อไปนะทะเคะชิ ^o^

ก่อนจบอยากจะพูดถึงความรู้ภาษาญี่ปุ่นที่ได้เพิ่มจาก タスク2 นะคะ
- สำนวน A にもったいないぐらいの B แปลว่า B ดีเกินไปสำหรับ A, B ไม่คู่ควร A
  ถ้าไปเจอสำนวนนี้เอาข้างนอกด้วยตัวเอง จะเข้าใจว่า Aเป็นฝ่ายที่ต้องเสียดาย B ไม่คู่ควรกับ A
  แปลผิดได้สุดโต่งดีจริงๆ ดีนะที่มาเจอสำนวนนี้ในวิชานี้เสียก่อน ^_^"
- สำนวน もう..大ピンチ。แปลว่า วิกฤตแล้ว - _ -"
- สำนวน ~ことがばれちゃったんだ。แปลว่า ความแตกแล้ว O~O"
- สำนวน どっちもどっちだよね。แปลว่า พอกันนะคู่นี้
- คำศัพท์ おもむろに แปลว่า ค่อยๆ (เอื้อมมือ)
- คำศัพท์ ブスな แปลว่า ขี้เหร่
- ได้รู้ว่ารูปประโยคบางรูปที่ถ้าเราใช้เองจะคิดว่ามันแปลก จริงๆแล้วใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ประโยคจากตัวอย่างของอาจารย์ผู้หญิง ที่ว่า それで、次、彼、何したと思う?เป็นต้น ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะคิดว่าประโยคนี้ฟังแล้วรู้สึกไม่ต่อเนื่อง แต่อาจารย์ก็ยังใช้ ทำให้คิดได้ว่า ความสำคัญของการสื่อสารโดยเฉพาะการพูดนั้น คือการที่ผู้ฟังเข้าใจเราได้ถูกต้อง เมื่อถึงเวลาที่เราต้องพูด ก็ไม่ควรไปเสียเวลากับการเรียงร้อยประโยคนานเกินไป ฝึกฝนไปเรื่อยๆ แล้วการเรียบเรียงคำพูดของเราก็จะดีขึ้นเรื่อยๆเอง หวังว่าเราจะเป็นอย่างนั้นนะ แต่ก็อีกนั่นแหละ เราไม่ค่อยกล้าพูด กล้าคุยภาษาญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ ขาดความมั่นใจในตัวเอง เป็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงตัวเองอย่างเร่งด่วน!

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

タスク1

ได้ลองสมมติตัวเองเป็นคนที่ชอบเล่น フラメンコギター แล้วส่งเมล์ไปขอเรียนคอร์สตัวต่อตัวกับปรมาจารย์ชั้นครูผู้มีชื่อเสียงชาวญี่ปุ่น เขียนเมล์ทั้งหมดสามครั้ง ครั้งแรกยังเขียนได้ไม่ดี หลังจากได้อ่านตัวอย่างเมล์ที่ดีของเพื่อนๆ และจากในชีท ก็พบว่าจดหมายที่เราเขียนมีข้อบกพร่องหลักๆ 2 ข้อด้วยกันคือ
1. ขาดรายละเอียดสำคัญๆ เช่น ไม่บอกระดับความสามารถของตัวเองให้อาจารย์ทราบ ไม่บอกวันเวลาที่สะดวกจะเรียน
2. ภาษาที่ใช้ไม่สุภาพ มีคำศัพท์ที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น 費用について問い合わせておきたいと思います。
ควรหลีกเลี่ยงคำว่า費用 ควรใช้ประโยคว่า一ヶ月どのぐらいかかりますか。มากกว่า ส่วนการบอกปิดท้ายว่า お返事をお待ちしております。ก็ไม่ควรเขียน เพราะเหมือนเร่งให้อีกฝ่ายตอบกลับซึ่งเสียมารยาท เป็นต้น

เมื่อทราบดังนี้ จึงปรับปรุงแก้ไขไปในการเขียนครั้งที่สอง ในครั้งที่สองนี้มีข้อบกพร่องน้อยลง แต่ก็ยังมีจุดที่ใช้ไวยากรณ์ผิดๆอยู่ และเขียนเหมือนกับตัวอย่างในชีทมากเกินไป

ครั้งที่สามก็ได้แก้ไขจุดที่ผิดไวยากรณ์ตามที่อาจารย์แนะนำ เนื้อความที่เหลือยังคงเดิม

ถ้าเทียบครั้งที่สามกับครั้งที่หนึ่งแล้ว ครั้งที่สามดีกว่ามาก เนื่องจากมีสำนวนภาษาที่สุภาพและมีเนื้อหาสมบูรณ์กว่า

จากงานชิ้นแรกที่ได้ทำนี้ทำให้รู้ว่าภาษาญี่ปุ่นของตนเองยังมีจุดบกพร่องอยู่มาก ยังไม่แม่นไวยากรณ์ ได้ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ บางเรื่องที่ชาวไทยคิดว่าจะเป็นการเสียมารยาท แต่สำหรับชาวญี่ปุ่น หรือชาวต่างชาติอาจจะไม่คิดอย่างเดียวกันก็ได้ เห็นได้จากการเขียนเมล์ครั้งแรกที่ไม่มีข้อมูลว่าตนเองมีความสามารถระดับไหนแล้ว และ ไม่ระบุวันเวลาที่จะสะดวกเรียน ที่ไม่ได้เขียนไปเนื่องจากคิดว่าจะเป็นการเสียมารยาทที่จะระบุวันเวลาไป แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว ไม่เป็นการเสียมารยาท ตรงกันข้าม การระบุรายละเอียดต่างๆไปให้ชัดเจนในคราวเดียวเป็นการสื่อสารที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา ย่นระยะเวลาในการติดต่อ ไม่ต้องส่งเมล์กลับไปกลับมาหลายรอบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้สำนวนใหม่ๆที่ควรจำไปใช้เช่น お手数ですが、และ お返事は急ぎませんが、どうぞよろしくお願いいたします。อีกด้วย